วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ที่พักอยุธยา


d
ที่พักอยุธยา

วรบุรี อโยธยา รีสอร์ท89 หมู่ 11 ต.พระนครศรีอยุธยา โทร.02-1641001-6 ราคาห้อง 1,450 - 2,200 บาท
โรงแรม กรุงศรีริเวอร์ 27/2 หมู่ 11 ถ.โรจนะ (ทางเข้าสถานีรถไฟ) โทร.02-1641001-6 ราคาห้อง 1,450 - 2,200 บาท
โรงแรมอโยธยา12 หมู่ 4 ถ.เทศบาลสาย 2 โทร.02-1641001-6 จำนวน 101 ห้อง ราคา 1,100-3,500 บาท
อยุธยา ธานี4/89 หมู่ 8 ต. หัวรอ ถ. อู่ทอง อยุธยา 13000 ราคา 950 - 1,050 บาท + อาหารเช้า โทร.02-1641001-6
อู่ทองอินน์210 หมู่ 5 ถ.โรจนะ โทร.02-1641001-6 ราคา 1,177-3,296 บาท
คันทารี โฮเท็ล อยุธยา 168 หมู่ 1 ราคาห้อง 1,710 - 4,100 บาท
โรงแรม เดอะ ลิม่า เพลส 39 หมู่ 2 ต. บ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา 13000 ราคา 400-800 บาท
พลูธยารีสอร์ทแอนด์ สปา 12/3 หมู่ 7 อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยา 13000 ราคา 2,450-4,800 บาท

สถานที่ท่องเทียว

หมู่บ้านโปรตุเกส


หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ ของตัวเมือง ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. 2054 โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบู- เคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นฑูตเข้ามาเจริญสัม พันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและ เป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน
ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือโบสถ์ในคณะ โดมินิกันซึ่งเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องประกอบพิธีทางศาสนา

สถานทีท่องเทียว


วัดไชยวัฒนาราม


สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก(พนมเปญ) โดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

สถาปัตยกรรม
ฐานภายใน
วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน ๑๒๐ องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม(เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝ่าเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน
เมรุทิศเมรุราย
เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น ๘ หลัง โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน ๑๒ ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด
เมรุทิศ (ซ้าย) ปรางค์มุม (ขวา)
เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๗ ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง
พระอุโบสถ สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง ๓ ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพื่อในภายหลัง
วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้
ก่อนกรุงแตก พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนารามจึงได้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๕